ใบกระท่อม พืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้แบบยั่งยืน
- mai mai
- 2 ต.ค. 2564
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 3 ต.ค. 2564
ปลดล๊อกแล้ว #ใบกระท่อม ปลูกซื้อ ขายได้ ไม่ผิดกฎหมาย สรรพคุณมากล้น สมุนไพรที่คนโบราณนิยมทาน เพื่อให้ ร่ายกาย กระปรี๊กระเปร่า
พืชกระท่อม เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ตั้งแต่โบราณ เช่น ทางการแพทย์แผนไทย เนื่องจากมี สรรพคุณมากล้น และมีสารสำคัญทางยา (#Mitragynine) #ไมทราไจนีน เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤฺทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (#CNS #depressamt)
ทำให้รู้สึก ชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า

สาร mitragynine จัดเป็นแอลคาลอยด์ชนิด corynanthe มีสูตรโมเลกุล C 23 H 30 O 4 N 2 (มวลโมเลกุล 398.503 กรัมต่อโมล) อาจเรียกชื่อ mitragynine ตามลักษณะโครงสร้างว่า 9-methoxy-corynantheidine ลักษณะโครงสร้างจัดอยู่ประเภทเดียวกับแอลคาลอยด์ที่พบในสกุล Yohimbe และสกุล Uncaria สาร mitragynine มีลักษณะเป็นผงสีขาว (white amorphous powder) มีคุณสมบัติละลายในตัวทำละลายชนิด แอลกฮอล์ คลอโรฟอร์ม และกรดอะซิติก
ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
จากงานวิจัย สาร mitragynine มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารในหนูขาว โดยผ่านตัวรับออปิออยด์ ดังที่กล่าว ข้างต้น (Tsuchiya et al. 2002) สารสกัดเมทานอลจากใบกระท่อม มีผลลดความอยากอาหารและน้ำ ทำให้ น้ำหนักของหนูขาวลดลง (Kumarnsit et al. 2006)
ซึ่งอาจใช้สารสกัดจากใบกระท่อมในการควบคุมระดับน้ำตาล (anti-diabetic effect) โดยไม่เกี่ยว ข้องกับการทำงานของอินซูลิน (Purintrapiban et al. 2008)
#สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม ประกอบด้วยแอลคาลอยด์ทั้งหมดประมาณร้อยละ 0.5 ในจำนวนนี้เป็น
มิตราไจนีน (Mitragynine) ร้อยละ 0.25 ที่เหลือเป็น
สเปโอไจนีน (Speciogynine) ไพแนนทีน (Paynanthine)
สเปซิโอซีเลียทีน (Speciociliatine) ตามลำดับ
ซึ่งชนิดและปริมาณแอลคาลอยด์ที่พบแตกต่างกัน ตามสถานที่ และเวลาที่เก็บเกี่ยว ซึ่งแบ่งตามสูตร
โครงสร้างได้สารประกอบ 4 ประเภท คือ
1. อินโดลแอลคาลอยด์ (Indole Alkaloids)
2. ออกอินโดลแอลคาลอยด์ (Oxindole Alkaloids)
3. ฟลาวานอยด์ (Elavanoids)
4. กลุ่มอื่นๆ เช่น ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol), แทนนิน (Tannins)
สรุป สรรพคุณกระท่อม
“พืชกระท่อม หรือ Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. เป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง โดยพบ mitragynine เป็นสารหลัก และพบมากในใบกระท่อม สาร mitragynine สามารถจับได้กับตัวรับออปิออยด์ จึงมีคุณสมบัติใช้เป็นยาแก้ปวดในกลุ่ม opioid analgesic นอกจากนี้ยังใช้ลดอาการท้องเสีย ต้านการซึมเศร้า ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และเพิ่มการดูดกลับ ของน้ำตาลกลูโคส เป็นต้น”
ยกเว้น ขายเชิงพาณิชย์ต้องขอใบอนุญาต
เคี้ยวใบกระท่อม มีผลข้างเคียงไหม
แม้ว่าการรายงานการเกิดพิษที่สาเหตุจากพืชกระท่อมยังมีน้อยและขาดการบันทึกที่ถูกต้อง แต่ก็สามารถตั้ง ข้อสังเกตได้ว่า ยังไม่มีรายงานการตายของผู้ที่กินพืชกระท่อมเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ยาออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาทร่วมกันหลาย ๆ ตัว จนทำให้การทำงานของสมอง หัวใจ ล้มเหลว ดังนั้นการบันทึก ข้อมูลจึงเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การป้องกัน ป้องปราม และเป็นแนวทางในการจัดการกับพืชกระท่อม ให้ถูกหลักวิชาการต่อไป
เอกสารอ้างอิง
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ดาริกา ใสงาม สมสมร ชิตตระการ อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา และ จุไรทิพย์ หวังสินทวี กุล. 2558. บทสรุปของพืชกระท่อม. สาวิตรี อัษณางค์กรชัย บรรณาธิการ. หน่วยระบาดวิทยา คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จ ากัด. สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และ อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา, บรรณาธิการ. 2548. พืชกระท่อมในสังคมไทย. ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม, กรุงเทพฯ: บางกอก บล๊อก
Comments